วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมายาวนานนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ดำเนินมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน  การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกันในช่วงแรก เริ่มขึ้นด้วยการค้าขายระหว่างกันโดยหมู่เรือสินค้าของญี่ปุ่นที่มีชื่อตราสีแดง (Red Seal Ships) ติดตามมาด้วยการจัดตั้งหมู่บ้านญี่ปุ่นในดินแดนต่างๆของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้สิ้นลงในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นดำเนินนโยบายปิดประเทศ  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้เริ่มต้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้พัฒนามาถึงจุดที่ในปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย ทั้งไทยและญี่ปุ่นมีความโดดเด่นที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ทั้งสองประเทศไม่เคยสูญเสียเอกราชอธิปไตยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นในช่วงสมัยของยุคแผ่จักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก


Thai-Japanese Relations From Ancient To Modern Times


Japan-Thailand relations span a period from the 17th century to the present. Contacts had an early start with Japanese trade on Red seal ships and the installation of Japanese communities on Siamese soil, only to be broken off with Japan's period of seclusion. Contacts resumed in the 19th century and developed to the point where Japan is today one of Thailand's foremost economic partners. Thailand and Japan share the distinction of never having lost sovereignty during the Colonial period.

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations

สยาม-ญี่ปุ่นการติดต่อกันในครั้งแรก

สยาม-ญี่ปุ่นการติดต่อกันในครั้งแรก

การติดต่อกันระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในครั้งแรกนั้นคือปี ค.ศ. 1593  ในพงศาวดารของไทยระบุว่า  พระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงมีทหารญี่ปุ่นในกองทัพของพระองค์เป็นจำนวน 500 นาย เมื่อพระองค์ทรงนำทัพไปปราบพระมหาอุปราชาแห่งพม่า ในการต่อสู้กันบนหลังช้างที่เรียกว่า ยุทธหัตถี


ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1605 จอห์น เดวิส  (John Davis) นักสำรวจเลื่องชื่อของอังกฤษ ถูกโจรสลัดญี่ปุ่นสังหารนอกฝั่งสยาม(ไทย) ซึ่งนับว่าเป็นชาวอังกฤษคนแรกที่ถูกสังหารโดยชาวญี่ปุ่น


First contacts


As early as 1593, Siamese chronicles record that the Siamese king Naresuan had 500 Japanese soldiers in his army when he defeated Phra Maha Uparaja, the Burmese Crown Prince, in a battle on elephant-back.
In December 1605, , the famous English explorer, was killed by Japanese pirates off the coast of Siam (Thailand), thus becoming the first Englishman to be killed by a Japanese.


แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations

การค้าด้วยเรือตราแดงระหว่างสยาม-ญี่ปุ่น

การค้าด้วยเรือตราแดงระหว่างสยาม-ญี่ปุ่น


เรือตราแดง (Red seal ships) ราว 56 ลำได้เดินทางมาสยามระหว่างปี ค.ศ. 1604 ถึง 1635 ราวปี ค.ศ. 1620 การค้าระหว่างสยามกับญี่ปุ่นมีมูลค่ามากกว่าที่สยามทำกับชาติอื่นๆรวมกันทุกชาติเสียอีก



เริ่มมีการก่อตั้งประชาคมญี่ปุ่นขึ้นในสยาม  ประชาคมญี่ปุ่นถนัดในการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้าหนังกวางและไม้กฤษณาโดยนำสินค้าประเภทเครื่องเงินและสินค้าหัตถกรรมของญี่ปุ่น(ดาบ,กล่องลงยา,กระดาษคุณภาพดี)มาแลกเปลี่ยน สินค้าที่ญี่ปุ่นสนใจซื้อจากไทยได้แก่ ไหมจีน  หนังกวาง  หนังปลากระเบน หนังปลาฉลาม (สินค้าสองอย่างหลังเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของด้ามดาบญี่ปุ่นเป็นต้น)


ชาวญี่ปุ่นถูกระบุจากชาวดัตช์ว่าชอบขัดขวางท้าทายการผูกขาดการค้าของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดียคอมพานี (Dutch East India Company =VOC) เพราะเป็นพวกได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์สยามให้ซื้อสินค้าได้เกิน 50% ของผลิตผลทั้งหมด  ซึ่งก็ทำให้ปริมาณของสินค้าที่จะขายให้แก่พ่อค้าของประเทศอื่นมีเหลืออยู่น้อยเต็มที


พระมหากษัตริย์ของสยามทรงส่งคณะทูตหลายคณะไปยังญี่ปุ่น: ในปี ค.ศ. 1621 คณะทูตนำโดยขุนพิชิตสมบัติ และ ขุนประเสริฐม, ในปี ค.ศ. 1623 คณะทูตนำโดย หลวงทองสมุทร และขุนสวัสดิ์ และในปี ค.ศ. คณะทูตนำโดย ขุนรักษาสิทธิผล  พระราชหัตถเลขาของพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงยกย่องสัมพันธภาพระหว่างสองประเทศว่าดังนี้:

ความมีอยู่ของทะเลแยกสยามและไทยทำให้การติดต่อระหว่างสองชาติเป็นไปได้ยาก แต่เรือสินค้าของทั้งสองชาติบัดนี้ได้ไปมาหาสู่กันระหว่างสองชาติ ทำให้ความสัมพันธ์มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น  บัดนี้เป็นที่ปรากฏชัดว่า ท่าน(โชกุน) มีความรักอย่างจริงใจต่อพวกเรา ซึ่งเป็นความรักที่มีความเข้มแข็งยิ่งกว่าญาติร่วมสายโลหิตเสียอีก

ข้างโชกุนก็มีหนังสือกราบบังคมทูลตอบมาว่า:
ความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างสองชาติของเราไม่สามารถถูกทำลายได้ เนื่องจากว่าเราทั้งสองมีความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความมีอยู่ของทะเลที่มากั้นเราไว้นั้นไม่มีความสำคัญใดๆเลย


Red seal trade

Around 56 Red seal ships to Siam are recorded between 1604 and 1635.[3] By around 1620, the trade between Siam and Japan was larger than the total trade of Siam with all other nations.[4]

A Japanese colony was established in Siam. The colony was active in trade, particularly in the export of deer-hide and sappan wood to Japan in exchange for Japanese silver and Japanese handicrafts (swords, lacquered boxes, high-quality papers). From Siam, Japan was interested in purchasing Chinese silks, as well as deerskins and ray or shark skins (used to make a sort of shagreen for Japanese sword handles and scabbards).[5]

The Shogun responded in similar terms:

The Japanese were noted by the Dutch for challenging the trade monopoly of the Dutch East India Company (VOC), as their strong position with the King of Siam typically allowed them to buy at least 50% of the total production, leaving small quantities of a lesser quality to other traders.

The king of Siam sent numerous embassies to Japan: in 1621, an embassy led by Khun Pichitsombat and Khun Prasert, in 1623 by Luang Thongsamut and Khun Sawat, and in 1626 by Khun Raksasittiphon.[1] Letters from king Songtham praise the relationship between the two countries:

"The existence of a sea separating Thailand and Japan has made contact between our two nations difficult. However, merchant ships of both nations now ply regularly between our two countries, causing relations to become even closer. It is now apparent that you (the Shogun) have sincere affection for us, an affection even stronger than that of our immediate kin."

—Letter by king Songtham.[1]


"The cordial relations between our two countries cannot be destroyed. Since we both have mutual trust, the existence of a sea between us is not of any significance."
—Letter by the Tokugawa Shogun to king Songtham.[1]

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations

ประชาคมญี่ปุ่นในสยาม

ประชาคมญี่ปุ่นในสยาม

ประชาคมญี่ปุ่นที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่กรุงศรีอยุธยามีจำนวนประมาณ 1,500 คน(บางแหล่งข้อมูลบอกว่ามีมากถึง 7,000 คน ประชาคมของญี่ปุ่นมีชื่อเรียกว่า บ้านญี่ปุ่น และมีหัวหน้าหมู่บ้านเป็นชาวญี่ปุ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางการสยาม พวกญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยูที่กรุงศรีอยุธยาประกอบด้วย พวกพ่อค้า  พวกที่นับถือศาสนาคริสต์ (คริสตัง) ซึ่งหลบหนีจากญี่ปุ่นมาอยู่ตามประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากถูกกวาดล้างในยุคโตโยโตมิ ฮิเดยูชิ และยุคโตกุกาวา อียาสุ (Toyotomi Hideyoshi and Tokugawa Ieyasu) รวมทั้งพวกอดีตซามูไรที่ไม่มีงานทำซึ่งเลือกข้างฝ่ายที่พ่ายแพ้สงครามเซกิคาฮารา (Sekigahara)


บาทหลวงคริสตังชื่อ Padre Antonio Francisco Cardim ระบุจำนวนของชาวญี่ปุ่นที่ท่านเป็นผู้กระทำพิธีเข้าเป็นชาวคริสตังในกรุงศรีอยุธยาว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 400 คนในปี ค.ศ. 1627 นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีประชาคมชาวญี่ปุ่นอยู่ที่อื่น เช่นที่ นครศรีธรรมราชและที่ปัตตานี


นิคมชาวญี่ปุ่นมีคุณค่าทางด้านกิจการทหารเป็นอย่างสูง  และได้ถูกจัดให้อยู่ในหน่วยทหารที่เรียกว่า  กรมอาสาญี่ปุ่น ในกองทัพของพระมหากษัตริย์สยาม


การติดต่อกับประชาคมของชาติอื่นของชาวญี่ปุ่นมักไม่ค่อยจะราบรื่น : เช่นในปี ค.ศ. 1614 คนของบริษัทอิงลิชอีสต์อินเดียคอมพานี (English East India Company) ได้สังหารชาวญี่ปุ่นจำนวน 8 คน ในการต่อสู่กันในกรุงศรีอยุธยา


Japanese community in Siam


The Japanese quarters of Ayutthaya were home to about 1,500 Japanese inhabitants (some estimates run as high as 7,000). The community was called Ban Yipun in Thai, and was headed by a Japanese chief nominated by Thai authorities.[6] It seems to have been a combination of traders, Christian converts ("Kirishitan") who had fled their home country to various Southeast Asian countries following the persecutions of Toyotomi Hideyoshi and Tokugawa Ieyasu, and unemployed former samurai who had been on the losing side at the battle of Sekigahara.[6]


Padre Antonio Francisco Cardim recounted having administered sacrament to around 400 Japanese Christians in 1627 in the Thai capital of Ayuthaya ("a 400 japoes christaos")[6] There were also Japanese communities in Ligor and Patani.[7]


The Japanese colony was highly valued for its military expertise, and was organized under a "Department of Japanese Volunteers" (Krom Asa Yipun) by the Thai king.


Contacts with other communities were not always smooth: in 1614, men of the English East India Company killed eight Japanese in a fight in the city of Ayutthaya.[2]

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations

บทบาทของยามาดา นาคามาซาในสยาม ( ระหว่างปี ค.ศ. 1621-1630)

บทบาทของยามาดา นาคามาซาในสยาม ( ระหว่างปี ค.ศ. 1621-1630)


นักผจญภัยชาวญี่ปุ่นชื่อ ยามาดา นาคามาซา ได้กลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากผู้หนึ่งในราชอาณาจักรสยามในช่วงเวลาดังกล่าว เขาเข้ามาตั้งหลักปักฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1612 และได้เป็นผู้ปกครองอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  อันเป็นจังหวัดทางภาคใต้ของสยาม


ยามาดาเป็นหัวหน้าของนิคมชาวญี่ปุ่น และในตำแหน่งนี้เองเขาได้ให้การสนับสนุนทางด้านการทหารแด่พระเจ้าทรงธรรมโดยเขาเองเป็นหัวหน้ากองทหารที่ติดธงญี่ปุ่น เขาได้ทำการรบอย่างกล้าหาญจนมีชัยชนะและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองเมืองลิกอร์ (นครศรีธรรมราชปัจจุบัน) ทำหน้าที่ดูแลคาบสมุทรทางใต้ในปี ค.ศ. 1630 โดยมีซามูไรขึ้นตรงจำนวน 300 นาย
หลังจากเข้ามาอยู่ในสยามกว่า 12 ปี ยามาดา นาคามาซา ก็ได้เดินทางกลับไปที่ญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1624 โดยได้โดยสารไปในเรือของเขาลำหนึ่ง  เขาได้บรรทุกสินค้าประเภทหนังกวางไปขายที่เทืองนางาซากิ และได้พักอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นเวลา 3 ปี ขณะนั้นเขาพยายามจะขออนุญาตใช้เรือตราแดง (Red Seal Ship) แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ จึงได้เดินทางกลับสยามเมื่อปี ค.ศ. 1627 ด้วยเรือที่มีสถานะเป็นเพียงเรือต่างชาติเท่านั้นเอง


ในปี ค.ศ. 1629 ยามาดา นาคามาซา ได้กลับไปที่ญี่ปุ่นพร้อมด้วยคณะทูตของพระเจ้าทรงธรรม  แต่ไปไม่นานเขาก็เดนทางกลับมาที่สยาม และได้มีส่วนร่วมในการสู้รบผลัดเปลี่ยนแผ่นดินหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าทรงธรรม


Yamada Nagamasa (1612–1630)


A Japanese adventurer, Yamada Nagamasa, became very influential and ruled part of the kingdom of Siam (Thailand) during that period. He settled in the kingdom of Ayutthaya (modern-day Thailand) from around 1612 and became the ruler of the Nakhon Si Thammarat province in southern Thailand.


Yamada became the head of the Japanese colony, and in this position supported the military campaigns of the Thai king Songtham, at the head of a Japanese army flying the Japanese flag. He fought successfully, and was finally nominated Lord of Ligor (modern Nakhon Si Thammarat), in the southern peninsula in 1630, accompanied by 300 samurai.



After more than twelve years in Siam, Yamada Nagamasa went to Japan in 1624 onboard one of his ships, where he sold a cargo of Siamese deer hide in Nagasaki. He stayed in Japan for three years, trying to obtain a Red Seal permit, but finally left in 1627, with the simple status of a foreign ship.



In 1629, Yamada Nagamasa visited Japan with an embassy from the Thai king Songtham. Yamada Nagamasa soon travelled back to Siam, but became involved in a succession war following the death of the King Songtham.[8]

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations

วิลเลียม อาดัมส์ เข้ามาเพื่อค้าขายทางเรือในสยาม(ค.ศ. 1614 และ 1615)

วิลเลียม อาดัมส์ เข้ามาเพื่อค้าขายทางเรือในสยาม(ค.ศ. 1614 และ 1615)

วิลเลียม อาดัมส์  เป็นนักผจญภัยชาวอังกฤษ ที่ทำการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศสยาม  วิลเลียม อาดัมส์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่าง ค.ศ. 1564 ถึง 1620  มีฐานที่ตั้งการค้าอยู่ที่ญี่ปุ่น ได้ดำเนินการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับสยามหลายครั้ง


ในปี ค.ศ. 1614 อาดัมส์ต้องการดำเนินการค้ากับสยามโดยมีความหวังว่าการค้าครั้งนี้จะช่วยให้กิจกรรมทางการค้าและสถานะทางการเงินของโรงงานอังกฤษของเขาในญี่ปุ่นดีขึ้น เขาได้ทำการซื้อเรือสำเภาขนาดระวางขับน้ำ 200 ตันมาลำหนึ่งแล้วนำมาปรับปรุงสภาพให้ดีขึ้น และได้ตั้งชื่อสำเภาลำนี้เสียใหม่ว่า ซีแอดเวนเจอร์ (Sea Adventure) ในเรือลำนี้ประกอบด้วยกลาสีและพ่อค้าซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นและพ่อค้าจีนจำนวน 120 คน  พ่อค้าชาวอิตาเลียนจำนวน 1 คน พ่อค้าชาวคัสติลจำนวน 1 คน  เรือซึ่งบรรทุกสินค้าเต็มลำได้ออกเดินทางจากญี่ปุ่นในระหว่างฤดูมรสุมในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1614  ในเรือก็ยังมีพ่อค้าชื่อ ริชาร์ด วิคคัม (Richard Wickham) และนายเอ็ดมันด์  เซเยอร์ส (Edmund Sayers) เจ้าหน้าที่บริษัทอิงลิซแฟคทอรี(English Factory) ร่วมเดินทางมามาค้าขายในเที่ยวนี้ด้วย  วัตถุประสงค์ของเรือลำนี้มาเพื่อซื้อไหมดิบ สินค้าเมืองจีน ไม้กฤษณา หนังกวาง และหนังปลากระเบน(สินค้าสุดท้ายนี้จะเอาไปทำด้ามดาบ) ในลำเรือมีสิ่งของที่บรรทุกมาคือเครื่องเงิน(มูลค่า  1250 ปอนด์) สินค้าอย่างอื่น(ผ้าฝ้ายอินเดีย,อาวุธและเครื่องลงยาของญี่ปุ่น) มีมูลค่า 175 ปอนด์  เรือลำนี้ได้มาพบกับพายุไต้ฝุ่นที่บริเวณใกล้หมู่เกาะระยุกยู (Ryukyu Islands =เกาะโอกินาวาปัจจุบัน) ต้องหยุดซ่อมเรือนับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1614ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1615 ก่อนที่จะเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1615 โดยที่มิได้ทำการค้าขายสิ่งใดแม้แต่ชิ้นเดียว


ต่อมาอาดัมส์ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นมาที่กรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1615 โดยมากับเรือซีแอดเวนเจอร์ที่ผ่านการซ่อมบำรุงเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะมาขนไม้กฤษณาไปขายในญี่ปุ่น  ในเรือก็มีสินค้าเหมือนกับที่บรรทุกมาในปีก่อน คือ เครื่องเงิน(มีมูลค่า 600 ปอนด์)  และสินค้าญี่ปุ่นและสินค้าอินเดียที่ยังไม่ได้นำออกขายเมื่อคราวที่แล้ว เขาได้ดำเนินการซื้อสินค้าที่จะสร้างกำไรให้มีจำนวนมากชนิดและซื้อเรือในสยามอีก 2 ลำเพื่อจะขนสินค้าทุกอย่างกลับไปที่ญี่ปุ่น อาดัมส์นำขบวนเรือซีแอดเวนเจอร์กลับญี่ปุ่นที่บรรทุกไม้กฤษณาจำนวน 143 ตัน และหนังกวางจำนวน 3700 ชิ้น กลับถึงฮิราโดภายใน 47 วัน (เดินทางระหว่าง 5  มิถุนายน ถึง  22 กรกฎาคม ค.ศ. 1616) ส่วนนายเซเยอร์สซึ่งจ้างเรือสำเภาจีนขนสินค้าเดินทางไปถึงฮิราโดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1616 โดยได้ไม้กฤษณาบรรทุกไปเป็นจำนวน 44 ตัน  ส่วนเรือลำที่สามเป็นเรือสำเภาของญี่ปุ่น บรรทุกหนังกวางจำนวน 4,560 ชิ้นไปถึงนางาซากิในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1617 หลังจากจากรอดพ้นจากพายุไต้ฝุ่น


William Adams (1614 and 1615)


The English adventurer William Adams traded between Japan and Southeast Asia, including Siam.The English adventurer William Adams (1564–1620) who was based in Japan, led several trading ventures between Japan and Siam



In 1614, Adams wished to organize a trade expedition to Siam in hope of bolstering the activities and cash situation of the English Factory in Japan. He bought for the factory and upgraded a 200-ton Japanese junk, renamed her the Sea Adventure, hired about 120 Japanese sailors and merchants as well as several Chinese traders, an Italian and a Castillan trader and the heavily laden ship left on November 1614, during the typhoon season. The merchants Richard Wickham and Edmund Sayers of the English factory's staff also participated to the voyage. The ship was to purchase raw silk, Chinese goods, sappan wood, deer skins and ray skins (the latter used for the handles of Japanese swords), essentially carrying only silver (£1250) and £175 of merchandise (Indian cottons, Japanese weapons and lacquerware). The ship met with a typhoon near the Ryukyu Islands (modern Okinawa) and had to stop there to repair from 27 December 1614 until May 1615 before returning to Japan in June 1615 without having been able to complete any trade.



Adams again left Hirado in November 1615 for Ayutthaya in Siam on the refitted Sea Adventure intent on bringing sappanwood for resale in Japan. Like the previous year, the cargo consisted mainly of silver (£600) and also the Japanese and Indian goods unsold from the previous voyage. He managed to buy vast quantities of the profitable products, even buying two additional ships in Siam to transport everything. Adams sailed the Sea Adventure back to Japan with 143 tonnes of sappanwood and 3700 deer skins, returning to Hirado in 47 days, (the whole trip lasting between 5 June and 22 July 1616). Sayers, on a hired Chinese junk, reached Hirado in October 1616 with 44 tons of sappanwood. The third ship, a Japanese junk, brought 4,560 deer skins to Nagasaki in June 1617 after having missed the monsoon.

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations


เทนจิกุ โทกุเบอิ เข้ามาสยามระหว่าง ค.ศ.1627-1630

เทนจิกุ  โทกุเบอิ  เข้ามาสยามระหว่าง ค.ศ.1627-1630


เทนจุกิ โทกุเบอิ เป็นนักผจญภัยและเป็นนักเขียนชาวญี่ปุ่นผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1612-1692 ได้เดินทางมาที่จีน เวียดนาม และสยาม โดยโดยสารมากับเรือตราแดงของญี่ปุ่น (Japanese Red Seal ship) ระหว่างปี ค.ศ. 1627-1630  เขาได้มาพักอยู่ในสยามในช่วงเวลาหนึ่ง และได้กลับมาที่สยามอีกครั้งหนึ่งโดยคราวหลังได้โดยสารมากับเรือของนักผจญภัยชาวดัตช์ชื่อ Jan Joosten van Lodensteijn เทนจูกิกลับไปญี่ปุ่นพร้อมกับทรัพยากรข้อมูลและเรื่องราวหลากหลายที่จะนำไปเขียนเพื่อบอกกล่าวแก่แฟนนักอ่านหนังสือของเขา


Tenjiku Tokubei (16271630)

The Japanese adventurer and writer Tenjiku Tokubei (1612 – c.1692) visited China, Vietnam and Siam onboard a Japanese Red Seal ship. Tokubei would stay for some time in Siam and again visit the country onboard one of the ships of the Dutch adventurer Jan Joosten van Lodensteijn[9][10] and returned with great wealth and numerous stories to tell.[11]


แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations


สยาม-ญี่ปุ่นจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างกัน

สยาม-ญี่ปุ่นจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างกัน

หลังจากการเสียชีวิตของยามาดาในปี ค.ศ. 1630 แล้วนั้น กษัตริย์ผู้ปกครองสยามพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง(ระหว่าง ค.ศ. 1630-1655) ได้ส่งกองทหารจำนวน 4,000 นายเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยา แต่ก็มีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยได้หลบหนีไปอยู่ที่ประเทศกัมพูชา หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปีพวกที่กลับมาจากอินโดจีนเหล่านี้ก็ได้มาตั้งนิคมชาวญี่ปุ่นขึ้นใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา๖มีจำนวนระหว่าง 300-400 คน)

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1634 โชกุนซึ่งได้รับแจ้งเกี่ยวกับความเดือดร้อนของชาวญีปุ่นและข้อร้องเรียนที่มีไปถึง ก็จึงได้ปฏิเสธที่จะให้เรือตราแดงของญี่ปุ่นเดินทางมาที่สยามอีกต่อไป กษัตริย์แห่งสยามมีพระประสงค์จะรื้อฟื้นการค้ากับญี่ปุ่น จึวทรงส่งเรือสินค้าและคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1636 แต่คณะทูตได้ถูกโชกุนปฏิเสธที่จะให้เข้าพบ ญี่ปุ่นตอนนั้นกำลังจะทำการปิดประเทศจากโลกภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากศาสนาคริสต์ อันนำไปสู่ยุคที่เรียกว่า ซากูกุ หรือ ยุคปิดประเทศ (Closed Country, or Sakoku, period)


Limitation of relations between Siam and Japan

Following Yamada's death in 1630, the new ruler and usurper king of Siam Prasat Thong (1630–1655) sent an army of 4000 soldiers to destroy the Japanese settlement in Ayutthaya, but many Japanese managed to flee to Cambodia. A few years later in 1633, returnees from Indochina were able to re-establish the Japanese settlement in Ayutthaya (300–400 Japanese).


From 1634, the Shogun, informed of these troubles and what he perceived as attacks on his authority, refused to issue further Red Seal ship permits for Siam. Desirous to renew trade however, the king of Siam sent a trading ship and an embassy to Japan in 1636, but the embassies were rejected by the Shogun. Japan was concomitantly closing itself to the world at that time, essentially to protect itself from Christianity, initiating the "Closed Country", or Sakoku, period. The Dutch took over a large part of the lucrative Siam-Japan trade from that time on.

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations


สยาม-ญี่ปุ่นยังมีการค้ายังดำเนินต่อไป

สยาม-ญี่ปุ่นยังมีการค้ายังดำเนินต่อไป

ทูตอีกหลายคณะได้ถูกส่งจากประเทศสยามไปยังญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1656 ในรัชสมัยของพระไชยราชา และในปี ค.ศ. 1687 ในรัชสมัยของพระนารายณ์  แม้ว่าญี่ปุ่นจะปิดประเทศจากการค้า(โดยเฉพาะจากประเทศตะวันตก ยกเว้นฮอนแลนด์) แต่ก็มีเรือสำเภาสยามหลายลำยังคงเดินทางเข้าไปยังญี่ปุ่น:ระหว่าง ค.ศ. 1647 ถึง 1700 โยมีข้อมูลระบุว่าในห้วงเวลาดังกล่าวมีเรือสินค้าสยามเดินทางไปที่นางาซากิจำนวน 130 ลำ ในรัชสมัยของพระเพศราชามีเรือสำเภาสยามมากถึง 30 ลำเดินทางจากอยุธยาไปที่เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น  นับแต่ปี ค.ศ. 1715  ทางการญี่ปุ่นอนุญาตให้เรือสินค้าสยามเข้าญี่ปุ่นได้เพียงปีละ 1 ลำาเท่านั้น  แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรเพราะกับประเทศอื่นญี่ปุ่นก็จำกัดการเข้าไปของเรือสินค้าแบบเดียวกันนี้

Continuing trade

More embassies would be sent by Thailand to Japan, in 1656 during the reign of King Chaiyaracha and in 1687 during the reign of King Narai.[1] Although Japan was closing itself to trade (especially with Western countries, except for Holland), many Siamese junks continued to visit Japan: between 1647 to 1700 the arrival of around 130 Siamese ships was recorded in Nagasaki. During the reign of Petracha as many as 30 junks are recorded to have left Ayutthaya for Nagasaki, Japan.[12] From 1715, only one Siamese junk per year was allowed, but this was not insignificant compared to what other countries could trade with Japan.[4]


แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations


ประชาคมญี่ปุ่นยังคงเหลืออยู่ในสยาม

ประชาคมญี่ปุ่นยังคงเหลืออยู่ในสยาม

จะอย่างไรก็ตาม ประชาคมชาวญี่ปุ่นยังคงเหลืออยู่ในสยาม และมีผู้ลี้ภัยจากการเข่นฆ่าชาวคริสต์ในญี่ปุ่นจำนวนมากได้เดินทางมาสยามหลังจากที่ได้มีการประกาศโองการอียาสุเพื่อกำจัดชาวคริสต์ในปี ค.ศ. 1614

นางมาเรีย กุโยมาร์ เดอ ปินฮา (Maria Guyomar de Pinha) ศรีภรรยาของนักผจญภัยชาวกรีกชื่อ คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) ซึ่งท่านผู้นี้เป็นหนึงในผู้มีอิทธิพลมากในสยามในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็เป็นลูกครึ่งฝรั่ง-ญี่ปุ่น ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17  ผู้ที่ให้ความดูแลประชาคมชาวคริสต์ทั้งที่มีเชื้อสายเวียดนามและเชื้อสายญี่ปุ่นในสยาม ได้แก่ พวกหมอสอนศาสนาคาทอลิกชาวฝรั่งเศส


นับตั้งแต่ยุคโทกุคาวา โชกุน  เป็นต้นมา ได้มีการห้ามมิให้ชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศเดินทางกลับญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นมาตรการต่อต้านศาสนาคริสต์โดยตรง ทำให้ประชาคมชาวญี่ปุ่นในสยามถูกถูกดูดกลืนเข้าไปคนไทยอย่างช้าๆ



 Remaining Japanese communities in Siam

Japanese communities however remained in Siam, and numerous refugees from the persecutions of Christians in Japan also arrived in the country after the promulgation of Ieyasu's interdiction of Christianity in Japan in 1614.[7] The famous Maria Guyomar de Pinha, wife of the Greek adventurer Constantine Phaulkon, who became one of the most influential men in Siam in the end of the 17th century, was half-Japanese. In the second half of the 17th century, the French catholic missionnaries in Siam cared for Annamite Christians and Japanese Christian communities in Siam.[13]


Since the Tokugawa Shogunate prohibited Japanese people established abroad to return to Japan, essentially as a protective measure against Christianity, the Japanese communities in Siam were gradually absorbed locally.[14]


แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations


สยาม-ญี่ปุ่นเริ่มติดต่อกันใหม่( คริสต์ศตวรรษที่ 19)


สยาม-ญี่ปุ่นเริ่มติดต่อกันใหม่( คริสต์ศตวรรษที่ 19)

ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 19  โดยได้มีการสถาปนาข้อตกลงที่เรียกว่า คำประกาศทางไมตรีและการค้าระหว่างญี่ปุ่นและสยามในปี ค.ศ. 1887 (Declaration of Amity and Commerce between Japan and Siam)  ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยของยุคสร้างความทันสมัยให้แก่ประเทศของพระปิยมหาราชของสยาม และจักรพรรดิเมจิของญี่ปุ่น

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยได้ถูกส่งมาสยามเพื่อช่วยสร้างความทันสมัยให้แก่ประเทศ ในด้านกฎหมาย ด้านการศึกษา  และด้านการเลี้ยงไหม

Resumption of contacts (19th century)


Relations resumed in the 19th century, with the establishment of the Declaration of Amity and Commerce between Japan and Siam in 1887, during the reigns of two icons of modernization, king Chulalongkorn in Siam and Emperor Meiji in Japan.


Numerous Japanese experts were dispatched to Thailand to help modernize the country, in areas such as law, education and sericulture.[15]

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations

ไทย-ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกันในสงครามโลกครั้งที่สอง

ไทย-ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรกันในสงครามโลกครั้งที่สอง


ไทย (ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของสยาม) เป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นชั่วเวลาไม่กี่ชั่วโมง หลังจากญี่ปุ่นบุกไทยเมื่อวันที่ 8 ธันงาคม ค.ศ. 1981
ไทยเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง  หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างกันช่วงก่อนสงครามหลายครั้งและการบุกสยามของทหารญี่ปุ่น

 ญี่ปุ่นทำข้อตกลงคำมั่นสัญญาทางวาจาลับกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไทย ว่าทางไทยจะให้การสนับสนุนญี่ปุ่นในการโจมตีมลายาและพม่า  แต่ต่อมา จอมพล ป. พิบูลสงครามก็พลิกลิ้นพร้อมที่จะลืมคำมั่นสัญญาที่ให้แก่ญี่ปุ่นหากสถานการณ์เกิดการเปลี่ยนแปลง  รัฐบาลไทยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เรียกร้องให้ทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกาให้หลักประกันว่าจะให้ความสนับสนุนไทยเมื่อถูกญี่ปุ่นรุกราน

ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การรุกรานของญี่ปุ่นต่อไทยก็ได้เริ่มต้นขึ้นในเวลาเดียวกับที่ญี่ปุ่นบุกมลายา ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในบริเวณใกล้กรุงเทพ  พร้อมกับที่ยกพลขึ้นบกที่สงขลาและประจวบ(นำไปสู่การสู้รบที่ประจวบคีรีขันธ์) ทหารไทยแต่แรกก็ทำการต่อต้านการบุกของญี่ปุ่น แต่อีก 5 ชั่วโมงต่อมาหลังจากได้รับคำขาดจากญี่ปุ่นทางรัฐบาลไทยโดยคณะรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ทหารไทยยุติการสู้รบ

ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตร (A Treaty of alliance) ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1941 และเมื่อถึงวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 ไทยก็ได้ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร เมื่อถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ติดต่อกับกองทัพจีนคณะชาติในมณฑลยูนนานเพื่อจะทำการสู้รบกับญี่ปุ่นที่กำลังจะพ่ายแพ้สงคราม


World War II allies

Thailand was allied with Japan during World War II, following numerous pre-war diplomatic exchanges and the beginning of a Japanese invasion of Thailand.



Thailand
The Japanese had won from Phibun a secret verbal promise to support them in an attack on Malaya and Burma. However, the Thai Prime Minister was fickle and he was quite ready to forget this promise if circumstances changed. His government also asked both the British and Americans for guarantees of effective support if Thailand were invaded by Japan.


On 8 December 1941, the Japanese Invasion of Thailand started at the same time as they invaded Malaya. The Japanese landed about 2,000 troops near Bangkok, and also made landings at Songkla and Prachuab (leading to the Battle of Prachuab Khirikhan).[16] Thai troops initially opposed the Japanese invasion, but five hours after it received the Japanese ultimatum, the Thai cabinet ordered Thai troops to stop firing.[16]



A Treaty of alliance was signed between Thailand and Japan on December 21st 1941, and on January 25th 1942 Thailand declared war on the United States and Great Britain[17][18] By March 1944, Phibun was making arrangements with the Chinese Chungking Army in Yunnan to fight against the losing Japanese.[19]
allied with Japan a few hours after the December 8 1941 Japanese Invasion of Thailand.

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations


ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในยุคใหม่

ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นในยุคใหม่

ญี่ปุ่นได้กลายเป็นคู่ค้าและนักลงทุนต่างประเทศที่สำคัญของไทยอีกครั้งหนึ่ง ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ป้อนสินค้า (Supplier) ใหญ่ที่สุดต่อจากสหรัฐอเมริกา  นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2005 เป็นต้นมา มีการส่งออกรถยนต์ติดตรายี่ห้อของญี่ปุ่น(โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยี่ห้อโตโยตา นิสสัน และอีซูสุ)  เป็นการใหญ่ ซึ่งทำให้ดุลการค้าของไทยกับต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นเป็นอย่างมากมาย  และจากจำนวนรถยนต์ญี่ปุ่น 1 ล้านคันที่ผลิตได้ในไทยเมื่อปีที่แล้ว  ไทยก็จึงได้นั่งแท่นรับตำแหน่งเป็นชาติทอปเท็นของชาติส่งออกรถยนต์ของโลกด้วยประการฉะนี้.
.ในปี ค.ศ. 2007 ได้มีการลงนามในข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทย (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการค้าเสรีระหว่างทั้งสองประเทศหลังจากช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ 10 ปีผ่านพ้นไปแล้ว

Modern times

Japan has become again a key trading partner and foreign investor for Thailand.[15] Japan is Thailand's largest supplier, followed by the United States. Since 2005, the rapid ramp-up in export of automobiles of Japanese makes (esp. Toyota, Nissan, Isuzu) has helped to dramatically improve the trade balance, with over 1 million cars produced last year. As such, Thailand has joined the ranks of the world's top ten automobile exporting nations.


In 2007, a Japan-Thailand Economic Partnership Agreement was signed, aiming at free trade between the two countries after a transition period of 10 years.

แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations