สยาม-ญี่ปุ่นจำกัดความสัมพันธ์ระหว่างกัน
หลังจากการเสียชีวิตของยามาดาในปี ค.ศ. 1630 แล้วนั้น กษัตริย์ผู้ปกครองสยามพระนามว่าพระเจ้าปราสาททอง(ระหว่าง ค.ศ. 1630-1655) ได้ส่งกองทหารจำนวน 4,000 นายเข้าทำลายหมู่บ้านของชาวญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยา แต่ก็มีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยได้หลบหนีไปอยู่ที่ประเทศกัมพูชา หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปีพวกที่กลับมาจากอินโดจีนเหล่านี้ก็ได้มาตั้งนิคมชาวญี่ปุ่นขึ้นใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา๖มีจำนวนระหว่าง 300-400 คน)
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1634 โชกุนซึ่งได้รับแจ้งเกี่ยวกับความเดือดร้อนของชาวญีปุ่นและข้อร้องเรียนที่มีไปถึง ก็จึงได้ปฏิเสธที่จะให้เรือตราแดงของญี่ปุ่นเดินทางมาที่สยามอีกต่อไป กษัตริย์แห่งสยามมีพระประสงค์จะรื้อฟื้นการค้ากับญี่ปุ่น จึวทรงส่งเรือสินค้าและคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1636 แต่คณะทูตได้ถูกโชกุนปฏิเสธที่จะให้เข้าพบ ญี่ปุ่นตอนนั้นกำลังจะทำการปิดประเทศจากโลกภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากศาสนาคริสต์ อันนำไปสู่ยุคที่เรียกว่า ซากูกุ หรือ ยุคปิดประเทศ (Closed Country, or Sakoku, period)
Limitation of relations between Siam and Japan
Following Yamada's death in 1630, the new ruler and usurper king of Siam Prasat Thong (1630–1655) sent an army of 4000 soldiers to destroy the Japanese settlement in Ayutthaya , but many Japanese managed to flee to Cambodia . A few years later in 1633, returnees from Indochina were able to re-establish the Japanese settlement in Ayutthaya (300–400 Japanese).
From 1634, the Shogun, informed of these troubles and what he perceived as attacks on his authority, refused to issue further Red Seal ship permits for Siam . Desirous to renew trade however, the king of Siam sent a trading ship and an embassy to Japan in 1636, but the embassies were rejected by the Shogun. Japan was concomitantly closing itself to the world at that time, essentially to protect itself from Christianity, initiating the "Closed Country", or Sakoku, period. The Dutch took over a large part of the lucrative Siam-Japan trade from that time on.
แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น