วิลเลียม อาดัมส์ เข้ามาเพื่อค้าขายทางเรือในสยาม(ค.ศ. 1614 และ 1615)
วิลเลียม อาดัมส์ เป็นนักผจญภัยชาวอังกฤษ ที่ทำการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศสยาม วิลเลียม อาดัมส์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในระหว่าง ค.ศ. 1564 ถึง 1620 มีฐานที่ตั้งการค้าอยู่ที่ญี่ปุ่น ได้ดำเนินการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับสยามหลายครั้ง
ในปี ค.ศ. 1614 อาดัมส์ต้องการดำเนินการค้ากับสยามโดยมีความหวังว่าการค้าครั้งนี้จะช่วยให้กิจกรรมทางการค้าและสถานะทางการเงินของโรงงานอังกฤษของเขาในญี่ปุ่นดีขึ้น เขาได้ทำการซื้อเรือสำเภาขนาดระวางขับน้ำ 200 ตันมาลำหนึ่งแล้วนำมาปรับปรุงสภาพให้ดีขึ้น และได้ตั้งชื่อสำเภาลำนี้เสียใหม่ว่า ซีแอดเวนเจอร์ (Sea Adventure) ในเรือลำนี้ประกอบด้วยกลาสีและพ่อค้าซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นและพ่อค้าจีนจำนวน 120 คน พ่อค้าชาวอิตาเลียนจำนวน 1 คน พ่อค้าชาวคัสติลจำนวน 1 คน เรือซึ่งบรรทุกสินค้าเต็มลำได้ออกเดินทางจากญี่ปุ่นในระหว่างฤดูมรสุมในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1614 ในเรือก็ยังมีพ่อค้าชื่อ ริชาร์ด วิคคัม (Richard Wickham) และนายเอ็ดมันด์ เซเยอร์ส (Edmund Sayers) เจ้าหน้าที่บริษัทอิงลิซแฟคทอรี(English Factory) ร่วมเดินทางมามาค้าขายในเที่ยวนี้ด้วย วัตถุประสงค์ของเรือลำนี้มาเพื่อซื้อไหมดิบ สินค้าเมืองจีน ไม้กฤษณา หนังกวาง และหนังปลากระเบน(สินค้าสุดท้ายนี้จะเอาไปทำด้ามดาบ) ในลำเรือมีสิ่งของที่บรรทุกมาคือเครื่องเงิน(มูลค่า 1250 ปอนด์) สินค้าอย่างอื่น(ผ้าฝ้ายอินเดีย,อาวุธและเครื่องลงยาของญี่ปุ่น) มีมูลค่า 175 ปอนด์ เรือลำนี้ได้มาพบกับพายุไต้ฝุ่นที่บริเวณใกล้หมู่เกาะระยุกยู (Ryukyu Islands =เกาะโอกินาวาปัจจุบัน) ต้องหยุดซ่อมเรือนับตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1614ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1615 ก่อนที่จะเดินทางกลับญี่ปุ่นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1615 โดยที่มิได้ทำการค้าขายสิ่งใดแม้แต่ชิ้นเดียว
ต่อมาอาดัมส์ได้เดินทางออกจากญี่ปุ่นมาที่กรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1615 โดยมากับเรือซีแอดเวนเจอร์ที่ผ่านการซ่อมบำรุงเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะมาขนไม้กฤษณาไปขายในญี่ปุ่น ในเรือก็มีสินค้าเหมือนกับที่บรรทุกมาในปีก่อน คือ เครื่องเงิน(มีมูลค่า 600 ปอนด์) และสินค้าญี่ปุ่นและสินค้าอินเดียที่ยังไม่ได้นำออกขายเมื่อคราวที่แล้ว เขาได้ดำเนินการซื้อสินค้าที่จะสร้างกำไรให้มีจำนวนมากชนิดและซื้อเรือในสยามอีก 2 ลำเพื่อจะขนสินค้าทุกอย่างกลับไปที่ญี่ปุ่น อาดัมส์นำขบวนเรือซีแอดเวนเจอร์กลับญี่ปุ่นที่บรรทุกไม้กฤษณาจำนวน 143 ตัน และหนังกวางจำนวน 3700 ชิ้น กลับถึงฮิราโดภายใน 47 วัน (เดินทางระหว่าง 5 มิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1616) ส่วนนายเซเยอร์สซึ่งจ้างเรือสำเภาจีนขนสินค้าเดินทางไปถึงฮิราโดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1616 โดยได้ไม้กฤษณาบรรทุกไปเป็นจำนวน 44 ตัน ส่วนเรือลำที่สามเป็นเรือสำเภาของญี่ปุ่น บรรทุกหนังกวางจำนวน 4,560 ชิ้นไปถึงนางาซากิในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1617 หลังจากจากรอดพ้นจากพายุไต้ฝุ่น
William Adams (1614 and 1615)
The English adventurer William Adams traded between Japan and Southeast Asia, including Siam.The English adventurer William Adams (1564–1620) who was based in Japan , led several trading ventures between Japan and Siam
In 1614, Adams wished to organize a trade expedition to Siam in hope of bolstering the activities and cash situation of the English Factory in Japan . He bought for the factory and upgraded a 200-ton Japanese junk, renamed her the Sea Adventure, hired about 120 Japanese sailors and merchants as well as several Chinese traders, an Italian and a Castillan trader and the heavily laden ship left on November 1614, during the typhoon season. The merchants Richard Wickham and Edmund Sayers of the English factory's staff also participated to the voyage. The ship was to purchase raw silk, Chinese goods, sappan wood, deer skins and ray skins (the latter used for the handles of Japanese swords), essentially carrying only silver (£1250) and £175 of merchandise (Indian cottons, Japanese weapons and lacquerware). The ship met with a typhoon near the Ryukyu Islands (modern Okinawa) and had to stop there to repair from 27 December 1614 until May 1615 before returning to Japan in June 1615 without having been able to complete any trade.
Adams again left Hirado in November 1615 for Ayutthaya in Siam on the refitted Sea Adventure intent on bringing sappanwood for resale in Japan . Like the previous year, the cargo consisted mainly of silver (£600) and also the Japanese and Indian goods unsold from the previous voyage. He managed to buy vast quantities of the profitable products, even buying two additional ships in Siam to transport everything. Adams sailed the Sea Adventure back to Japan with 143 tonnes of sappanwood and 3700 deer skins, returning to Hirado in 47 days, (the whole trip lasting between 5 June and 22 July 1616). Sayers, on a hired Chinese junk, reached Hirado in October 1616 with 44 tons of sappanwood. The third ship, a Japanese junk, brought 4,560 deer skins to Nagasaki in June 1617 after having missed the monsoon.
แหล่งข้อมูล :Wikipedia, the free encyclopedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Japan%E2%80%93Thailand_relations
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น